ซุ้มอ่างชำระล้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ได้รับการจดทะเบียน
สมัยไทโช (1917) สร้างจากไม้ *อาคาร
สร้างจากไม้ *อาคาร กระเบื้องคาวะระบุคิ
-
ชมวิดีโอ
-
เสียงบรรยาย
ซุ้มอ่างชำระล้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
- แผนที่
ซุ้มอ่างชำระล้างนี้ได้รับการติดตั้งไว้ข้างประตูคะระมงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงใหม่ของกลุ่มอาคารในช่วงยุคไทโช
ตรงกลางของอาคารทรงหกเหลี่ยมนั้น มีการจัดวางอ่างน้ำทรงกลมที่ออกแบบเลียนแบบดอกบัว หลังคาของอาคารมุงด้วยซังคะวะระบุคิ และมีลูกแก้วประดับอยู่บนยอด หลังคาอาคารมีการใช้คานแนวนอนเชื่อมระหว่างเสาหกต้น และรองรับคานตามแนวทแยงที่ประกอบกันเป็นรูปหกเหลี่ยม
ภายในตกแต่งอย่างหรูหราด้วยฝ้าเพดานแบบกรุ มีไม้ระแนงแผ่กระจายออกจากจุดศูนย์กลางของเพดานเป็นรูปรัศมี และระหว่างไม้ระแนงแต่ละอันยังมีการออกแบบช่องระบายอากาศเพื่อระบายอากาศในช่องใต้หลังคา ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในอาคารสมัยใหม่
เนื่องจากตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูข้างของวิหารผู้ก่อตั้ง จึงถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างทัศนียภาพที่สวยงามของบริเวณวิหารผู้ก่อตั้ง
รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
-
01
ประตูข้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ประตูข้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
02
วิหารผู้ก่อตั้ง
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
วิหารผู้ก่อตั้ง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
03
ประตูคะระมงของวิหารผู้ก่อตั้ง
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ประตูคะระมงของวิหารผู้ก่อตั้ง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
04
ซุ้มอ่างชำระล้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ซุ้มอ่างชำระล้างของวิหารผู้ก่อตั้ง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
05
ซุ้มอ่างชำระล้างหน้าวิหารหลัก
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ซุ้มอ่างชำระล้างหน้าวิหารหลัก
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
06
วิหารเก็บอัฐิ
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
วิหารเก็บอัฐิ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
07
โชเคียวโซ
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
โชเคียวโซ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
08
ฮอนโด (พระอุโบสถ)
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ฮอนโด (พระอุโบสถ)
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
09
พระพุทธรูปอะมิดะ เนียวไร
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
พระพุทธรูปอะมิดะ เนียวไร
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
10
เรือนรับแขก
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
เรือนรับแขก
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
11
พระพุทธรูปยะคุชิ เนียวไร
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
พระพุทธรูปยะคุชิ เนียวไร
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
12
ประตูข้างเรือนรับแขก
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ประตูข้างเรือนรับแขก
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
13
คันรันเทอิ
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
คันรันเทอิ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
14
โชอิน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
โชอิน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
15
คันโจกุระ
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
คันโจกุระ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
16
สุสาน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
สุสาน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
17
โคมไฟหิน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
โคมไฟหิน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
18
ระฆัง
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
ระฆัง
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
-
19
โชคันนงปางประทับยืน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
โชคันนงปางประทับยืน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
VR CONTENTS
หลุมศพของภรรยาของอาเคจิ มิสึฮิเดะ ฮิโรโกะ และสมาชิกครอบครัวของเขา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ศิษย์วัด
ผู้ที่ศรัทธาในคำสอนของนิกายใดนิกายหนึ่ง จัดทำสุสาน มอบหมายให้ดูแลพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิต และสนับสนุนวัด
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
การเผาภูเขาฮิเออิ
ในปี ค.ศ. 1571 (ปีเง็นกิที่ 2) กองทัพของโอดะ โนบุนางะ ได้โจมตีวัดเอ็นเรียคุ-จิ บนภูเขาฮิเออิ มีรายงานว่ากองทัพของโนบุนางะได้เผาวัดและสังหารผู้คนบนภูเขาจำนวนมาก
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โอะดะ โนะบุนะกะ
เป็นแม่ทัพที่มีชื่อเสียงในสมัยเซ็นโกคุ (สมัยที่ยังทำการสู้รบกันในประเทศ) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองมิโนะ (จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน) โนะบุนะกะเดินทางมายังเกียวโตในเดือนกันยายน ปีที่ 11 ของรัชสมัยเอโระคุ (ค.ศ. 1568) โดยมีความพยายามที่จะรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวและเป็นคนพาอะชิคะกะ โยะชิอะคิ ซึ่งเป็นคนในตระกูลโชกุนมุโระมัจจิมา เพื่อให้ขึ้นเป็นโชกุนคนต่อไป โดยได้ทำการตั้งค่ายที่วัดมิอิเดระเมื่อวันที่ 24 กันยายน ก่อนที่จะเดินทางเข้าเกียวโต ในครั้งนั้นได้ใช้วัดโคโจอินเป็นที่พักของโยะชิอะคิ และโนะบุนะกะก็ได้เข้าพักที่วัดโกะคุระคุอิน ต่อมาเขาได้สร้างปราสาทอะซึจิในเมืองโอมิ (ปัจจุบันคือ จังหวัดชิกะ) และได้พยายามที่จะรวมประเทศให้อยู่ภายใต้การปกครองของตน แต่ก็ต้องล้มเหลวในที่สุดเพราะถูกขุนศึกของตน อะเคะจิ มิซึฮิเดะหักหลัง (การก่อกบฎในครั้งนั้นเรียกว่า ฮอนโนโนะเฮน) (ค.ศ. 1534 ~ 1582)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ช่วงยุคเซ็นโกคุ
ช่วงเวลาที่มีสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 ถึงปลายศตวรรษที่ 16
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานไม้
ส่วนประกอบของหลังคาที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและโครงสร้างของหลังคา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานไม้เปลือย
คานไม้ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อเพิ่มความสวยงาม
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานแนวนอน
วัสดุที่เชื่อมต่อเสาร่วมกันในแนวนอน ติดตั้งไปตามแนวผนัง โดยวางทับอยู่เหนือคานประตูหน้าต่างหรือวางทับระหว่างเสา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คุมิโมะโน
โดยทั่วไปอยู่ข้างบนเสา โดยจะเป็นการประกอบเข้ากันของตัวรองอเสที่เรียกว่ามะสุ และตัวรับน้ำหนักจากต้านบนที่เรียกว่าฮิจิคิ ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวรองรับอเสที่รองรับจันทัน โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า โทะเคียว หรือ มะสุคุมิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
กำแพงดินซึจิเบอิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ประตูโยะซึอะชิมง
ประตูที่มีเสาเสริม 4 ต้นอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของเสาหลัก เป็นเพราะมีเสาเสริม 4 ต้น จึงเรียกประตูนี้ว่า ประตูโยะซึอะชิมง ประตูลักษณะนี้จะเห็นได้บ่อยที่ประตูด้านหน้าของวัดและศาลเจ้า โดยเสาหลักจะเป็นเสากลม และเสาเสริมจะเป็นเสาเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย จะเห็นประตูนี้ใช้กับหลังคาหน้าจั่วได้บ่อย ทั้งนี้ หากมีเสาหลักด้านละ 4 ต้น รวมเป็น 8 ต้น จะเรียกว่า ประตูฮัคเคียคุมง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เด็นเกียวไดชิ
ไซโจ ผู้ก่อตั้งนิกายเท็นไดของญี่ปุ่น มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 767 ถึง 822 ท่านเป็นผู้สถาปนาวัดเอ็นเรียคุ-จิ บนภูเขาฮิเออิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เทียนไท ไดชิ
ผู้ก่อตั้งนิกายเทียนไทของจีน คือ จี้หยี่ หรือที่รู้จักกันในนาม ชิซะไดชิ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 538 ถึง 597
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
รันมะที่แกะสลักอย่างละเอียด
ช่องระบายอากาศที่พบได้บ่อยในสถาปัตยกรรมแบบโชอิน-ซุกุริ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีโครงไม้แนวตั้งเรียงกันอย่างใกล้ชิดและโครงไม้แนวนอนเรียงกันอย่างห่าง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ฝ้าเพดานแบบกริด
หนึ่งในรูปแบบของฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานแบบกรุช่องสี่เหลี่ยมที่มีการตกแต่งด้วยโครงไม้แบบซี่ๆ ภายในช่อง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ราวกั้นที่ประดับตกแต่งด้วยลูกแก้ว
ราวระเบียงและราวบันไดที่ติดตั้งบริเวณขอบ มีเสาหลักประดับตกแต่งอยู่ที่มุมแต่ละด้าน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานไม้เรียงห่าง
โครงสร้างหลังคาที่ใช้คานไม้เรียงห่างๆ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ส่วนนอก
ภายในบริเวณวัดหรือศาลเจ้า เป็นบริเวณด้านนอกของวิหารหลักซึ่งเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือวัตถุสำคัญที่เคารพนับถือในวิหารหลัก และเป็นที่ที่ประชาชนทั่วไปมาสักการะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ไม้ระแนง
วัสดุที่บางและเรียวที่วางในแนวนอนทับคานไม้ เพื่อรองรับแผ่นไม้ใต้หลังคาและวัสดุมุงหลังคาอื่นๆ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานไม้เรียงชั้นเดียวแบบห่าง
โครงสร้างหลังคาชนิดหนึ่งที่ใช้ท่อนไม้ขนาดใหญ่ในการรองรับหลังคา โดยเว้นระยะห่างระหว่างคานค่อนข้างมาก
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โครงสร้างหลังคาแบบสามท่อน (โครงสร้างใช้ระบบค้ำยันแบบ)
ในสถาปัตยกรรมของวัดที่สร้างจากไม้ หนึ่งในรูปแบบของโครงสร้างค้ำยันพบได้ทั่วไปเหนือเสา รองรับชายคาลึก โครงสร้างค้ำยันประกอบด้วยบล็อกรับน้ำหนักขนาดใหญ่และบล็อกรับน้ำหนักขนาดเล็กด้านข้าง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
มิซึยะ (ศาลาน้ำ) (ซุ้มอ่างชำระล้าง)
โดยทั่วไป "มิซึยะ" มักหมายถึงห้องครัวขนาดเล็กที่ใช้ในการเตรียมเครื่องดื่มสำหรับพิธีชงชา แต่ยังสามารถหมายถึงโครงสร้างสำหรับอ่างน้ำที่วัดและศาลเจ้าได้อีกด้วย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานสองชั้นที่ใช้รับน้ำหนักของหลังคา
คานไม้สองชั้นเรียงชิดกัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ชายคา
โครงสร้างหน้าจั่วมีทางเข้าด้านคานและมีชายคาที่ทำหน้าที่ป้องกันน้ำฝนด้วย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ประตูทางเข้าด้านหน้าขนานกับสันหลังคา
โครงสร้างที่มีประตูทางด้านคานของหลังคาทรงหน้าจั่ว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สไตล์สุคิยะ
สไตล์สุคิยะ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากสถาปัตยกรรมแบบโชอิน-ซุกุริ มีลักษณะสง่างาม อ่อนช้อย เรียบง่าย และประณีต
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานไม้ที่ยังคงเปลือกไม้
ขอบของท่อนไม้กลมที่ใช้ ยังคงมีเปลือกไม้ติดอยู่ ทำให้เกิดบรรยากาศแบบเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ สไตล์นี้มักพบเห็นในห้องชงชาสไตล์สุคิยะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
มุคุริ-ยาเนะ
หลังคาที่มีลักษณะโค้งขึ้นเล็กน้อย ถูกใช้ในที่อยู่อาศัยในเมืองในยุคสมัยใหม่ เริ่มมีการสร้างขึ้นเมื่อพื้นที่ใต้หลังคาเริ่มถูกนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สวนเดินเล่นที่มีบ่อน้ำ
รูปแบบหนึ่งของสวนญี่ปุ่น ที่พัฒนาขึ้นในสมัยเอโดะ มีลักษณะเด่นคือมีทางเดินทอดยาวรอบบ่อน้ำ และมีการจัดสวนโดยรอบอย่างสวยงาม
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยเอะโดะ (ยุคเอโดะ)
เป็นชื่อเรียกสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 260 ปี ตั้งแต่ที่โทคุกะวะ อิเอะยะซุได้ชัยชนะจากการรบเซะคิกะฮะระในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) และได้จัดตั้งรัฐบาลปกครองที่เอะโดะในปีค.ศ. 1603 จนถึงปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโอ (ค.ศ. 1867) ที่โทคุกะวะ โยะชิโนะบุทำการคืนอำนาจการปกครองกลับไปให้จักรพรรดิ จะเรียกว่า สมัยโทคุกะวะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
แท่นเขียนหนังสือ
เป็นห้องที่ทำยื่นออกไปจากห้องโถงโทะโคะโนะมะ โดยยื่นไปทางระเบียงด้านนอก และมีประตูเลื่อนที่รับแสงสว่างอยู่ด้านหน้า โดยจะมีแท่นไม้ทำเป็นโต๊ะติดไว้ มีชื่อเรียกอื่นว่า โชะอินโดะโคะ อิดะชิฟุซึคุเอะ โชะอินกะมะเอะ โชะอินดะนะ อะคะริโดะโคะ อะคะริโชะอิน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ซังคะวะระ
เป็นการมุงหลังคาโดยใช้กระเบื้องหลังคาที่โค้งเหมือนคลื่นแค่เพียงชนิดเดียว โดยถูกค้นคิดวิธีการมุมกระเบี้องนี้ในสมัยเอะโดะ การมุมหลังคาแบบนี้จะเรียกว่า คันเรียคุกะวะระ(หลังคาแบบย่อง่าย) เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเมื่อเทียบกับการทำหลังคาแบบปกติในสมัยนั้น โดยในปัจจุบันบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยต่างๆโดยปกติก็จะเป็นการมุงหลังคาแบบซังคะวะระนี้
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยโมะโมะยะมะ
เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โครงไม้แบบกากบาท
โครงไม้เรียงกันเป็นรูปกากบาทใช้ตกแต่งส่วนบนของบานประตูหรือช่องหน้าต่าง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โครงไม้แนวตั้ง
แท่งไม้บางๆ แนวตั้ง ที่มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียงกันเป็นโครงสร้างแบบตะแกรง โดยมีด้านข้างหันออกไปด้านนอก แบบการออกแบบนี้มักใช้ในหน้าต่างและประตูของสถาปัตยกรรมวัดและศาลเจ้า
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
อุโนะเกะโทชิ
ส่วนปลายของหลังคาคาราฮะฟุ มีรูปร่างยาวรี เพื่อให้กลมกลืนกับเส้นโค้งที่อ่อนช้อยของหลังคาคาราฮะฟุ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ
หลังคาที่มีลักษณะเอกลักษณ์ ตรงกลางจะสูง และจะทำเป็นเส้นโค้งลงมาทางด้านซ้ายขวา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ (หลังคามุงด้วยฮิวะดะบุคิ)
หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ฮิระคาระมง
คารามง เป็นประตูที่มีหลังคาทั้งหมดสร้างในรูปแบบคาราฮะฟุ ฮิราคารามง มีลักษณะเด่นคือมีส่วนโค้งของหลังคาคาราฮะฟุ บนด้านข้างทั้งสองของประตู
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เจดีย์ห้าองค์ประกอบ
เป็นประเภทหนึ่งของเจดีย์ ใช้หินห้าชั้นแทนธาตุทั้งห้า ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ โดยเรียงจากล่างขึ้นบน ชั้นดินเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ชั้นน้ำมีรูปทรงกระบอกหรือทรงกลม ชั้นไฟมีรูปทรงเป็นปิรามิด ชั้นลมมีรูปทรงครึ่งวงกลม ชั้นอากาศมีรูปทรงเป็นอัญมณีซ้อนกันอยู่ด้านบน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ลายฉลุรูปดอกไม้
เป็นสไตล์เซน จะมีให้เห็นอยู่มากที่ช่องลม(รันมะ)ของประตูซังคะระโตะ หรือในอาคารโชะอิน เป็นต้น โดยจะเรียกว่าฮะนะรันมะด้วยเพราะจะทำรูปทรงดอกไม้(ฮะนะ) ประกอบเข้าอยู่ในลายที่ละเอียดสวยงามที่เรียกว่าคุมิโคะด้วย งานทำคุมิโคะเหล่านี้จะเรียกว่า "ฮะนะคุมิโคะ" หรือ "ฮะนะโคะ"
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คานโค้ง
คานโค้งขึ้นไปด้านบน ทำให้นึกถึงรุ้งกินน้ำ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เพดานแบบตาราง
เพดานที่สร้างขึ้นโดยการไขว้ไม้เป็นโครงสร้างแบบตั้งฉากกัน มักใช้ในห้องที่มีสถานะสูง เช่น ในศาลเจ้า วัด และห้องโถงใหญ่ของสถาปัตยกรรมโชอิน-ซึคุริ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โฮเกียว-ซึคุริ
รูปแบบหลังคาแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีสันหลังคาทั้งสี่มุมมาบรรจบกันที่จุดศูนย์กลางของหลังคา เรียกอีกอย่างว่า โฮเคอิ-ซึคุริ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ท่าทางมือ (มุทรา)
ในพุทธศาสนา มีการสร้างท่าทางมือต่าง ๆ ด้วยนิ้วมือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนแนวคิดทางศาสนา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
จีวร
หมายถึง คาสายะ ซึ่งเป็นผ้าจีวรที่เย็บจากเศษผ้าขาดๆ ทิ้งๆ โดยดั้งเดิมเป็นหนึ่งในสิบสองวัฏจักรแห่งการบำเพ็ญตบะ ต่อมาในประเทศจีน คาสายะมีการตกแต่งที่ประณีตมากขึ้น และในประเทศญี่ปุ่น คำนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกชิจิโอะคาสายะ (จีวรเจ็ดผืน) ที่ทำจากวัสดุหรูหรา เช่น ผ้าทวิล ผ้าไหม และผ้าไหมทองคำ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ป้ายชื่อ
สิ่งเหล่านี้ถูกติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่สูง เช่น บนอาคาร ประตู และประตูโทริอิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระราชโองการ
เอกสารที่จัดทำโดยข้าราชบริพารผู้ดูแลพระราชสำนัก (คุโรโดะ) ตามพระราชประสงค์ของจักรพรรดิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
จักรพรรดิโกโยเซย์
จักรพรรดิองค์ที่ 107 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี 1586 (ปีเท็นโชที่ 14) จนถึงปี 1611 (ปีเคโจที่ 16) พระองค์ประสูติในปี 1571 (ปีเก็นกิที่ 2) และเสด็จสวรรคตในปี 1617 (ปีเก็นนะที่ 3)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
วัดโฮโชจิ
วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิชิราคาวะ โดยได้รับการสถาปนาให้เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในโอกาซากิ พื้นที่ของซากโยะ จังหวัดเกียวโต ในปี 1077 (ปีจูริยากุที่ 1) ได้มีการจัดพิธีฉลองการแล้วเสร็จของวิหารหลวงและอาคารอื่นๆ และได้มีการสร้างอาคารต่างๆ เช่น หอประชุม หอโกได และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมเก้าชั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 1185 (ปีบุนจิที่ 1) เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้วัดพังทลายลง และในปี 1342 (ปีโคเออิที่ 1) เกิดไฟไหม้ ทำลายวัดไปเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุด วัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างหลังจากสงครามโอนิน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
วันเซะสึบุน โนะ ฮิ
วันก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่ นอกจากนี้ยังหมายถึง "การแบ่งฤดูกาล" ตั้งแต่สมัยเอโดะเป็นต้นมา มักหมายถึงประมาณวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ก่อนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สะไบ
ผ้าคลุมไหล่ยาวแคบ พาดผ่านลำตัวจากไหล่ซ้ายไปทางขวา สวมใส่โดยพระโพธิสัตว์และพระราชาแห่งปัญญา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ไม้ท่อนเดียว(อิจิโบคุสึคุริ)
เทคนิคการแกะสลักไม้ที่การแกะสลักส่วนสำคัญของรูปปั้น เช่น หัวและลำตัว จากไม้เพียงชิ้นเดียว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ระฆัง
บอนโช เป็นชื่อเรียกระฆังที่ใช้ในวัด เมื่อเทียบกับระฆังที่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน ส่วนมากจะแขวนอยู่ในหอระฆัง และมีค้อนไม้ไว้ตี
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ปราสาทซากาโมโตะ
ปราสาทซากาโมโตะ เป็นปราสาทญี่ปุ่นที่เคยตั้งอยู่ในเมืองซากาโมโตะ เขตชิกะ จังหวัดโอมิ (ปัจจุบันคือเมืองโอตสึ จังหวัดชิกะ) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของอาเคจิ มิสึฮิเอะ และเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบบิวะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
อาเคจิ มิสึฮิเดะ
ขุนศึกและเจ้าผู้ครองแคว้นในช่วงยุคเซ็นโกคุและสมัยอาซุจิ-โมโมยามะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยคะมะคุระ
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ตั้งแต่มินะโมะโตะโนะโยะริโทะโมะก่อตั้งรัฐบาลปกครองที่คะมะคุระ จนถึงการเสียชีวิตของโฮโจ ทะคะโทะคิ ในปีที่ 3 ของรัชสมัยเกนโค (ค.ศ. 1333)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ลูกแก้ว
อัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของญี่ปุ่น มักปรากฏเป็นรูปทรงกลมรี มีความเชื่อว่าเป็นอัญมณีที่มีพลังในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและบันดาลความปรารถนา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ดอกบัวรองรับ
ลูกแก้วของหอคอยหิน เป็นเครื่องประดับรูปดอกไม้ใต้วงแหวนทั้งเก้าวงของหอคอย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
แท่นกลาง
ฐานรองรับของโคมหิน เป็นส่วนที่ตั้งอยู่บนยอดของเสาหิน และเป็นที่วางสำหรับช่องใส่ตะเกียง ด้านล่างของฐานประดับด้วยลายแกะสลักรูปดอกบัว และด้านบนมีลักษณะเป็นชั้นๆ บนฐานอาจมีการแกะสลักลวดลายโคซะมะ เหนือดอกบัว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เสา
เสาหินที่ตั้งอยู่บนฐานของโคมหิน และทำหน้าที่รองรับส่วนบนของโคม ซึ่งประกอบด้วยช่องใส่ตะเกียง ฝาครอบ และส่วนตกแต่งด้านบน เช่น ลูกแก้ว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
หินแกรนิต
หินผลึก มีชื่อเสียงในด้านความแข็ง ความสวยงาม และความทนทาน ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างอย่างแพร่หลาย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
รัศมีที่อยู่ด้านหลัง
การแสดงถึงแสงสว่างของพระอมิตาภะ โดยมีลักษณะเป็นรัศมีรูปเรือขนาดใหญ่ ประดับประดาไปด้วยเทพสวรรค์ รูปแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมากหลังจากที่จิตรกรชื่อดัง โจโช ได้คิดค้นขึ้นในสมัยเฮอัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โจโชสไตล์
การแกะสลักพระพุทธรูปแบบญี่ปุ่น เริ่มต้นจากโจโช ประติมากรพุทธศาสนาในสมัยเฮอัน เป็นผู้รวบรวมเทคนิคการสร้างพระพุทธรูปหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปตามคติมหายาน พระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ พระพุทธรูปที่ทำจากวัสดุผสม โดยมีแกนเป็นไม้ และพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้จันทน์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยเฮอัน
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 400 ปี ตั้งแต่จักรพรรดิคันมุจัดตั้งเฮอันเป็นเมืองหลวงที่ประทับ (ค.ศ. 794) จนถึงมีการจัดตั้งรัฐบาลปกครองคะมะคุริ (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นสมัยที่อำนาจปกครองมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอันเคียว (เกียวโต) โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงต้นสมัย ช่วงกลางสมัย และช่วงท้ายสมัย หรือหมายถึง สมัยฟื้นฟูระบบการปกครอง(ริซึเรียว) สมัยผู้สำเร็จราชการ(เซคคัน) และสมัยอินเซ (ช่วงปลายสมัยเป็นการปกครองโดยตระกูลไทระ) หรือเรียกว่าเป็น สมัยเมืองเฮอัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ผิวเป็นสีทอง
ทั้งตัว แขนขา และเท้า เปล่งประกายสีทอง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระเกศ
ส่วนบนของศีรษะบวมและดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยสติปัญญา
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
นั่งขัดสมาธิ
วิธีนั่งปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา นั่งโดยให้ปลายเท้าวางอยู่บนต้นขาข้างตรงข้าม โดยให้ฝ่าเท้าหันขึ้น
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ท่าสมาธิของพระอมิดะ
สัญลักษณ์มือมีการประสานมือทั้งสองข้างและทำวงกลมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์ประจำพระอมิตาภพุทธะที่แสดงถึงการเข้าสมาธิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โจโรคุโซ
คือความสูงมาตรฐานสำหรับพระพุทธรูป อักษรย่อของ 1ชัคคุ 6ซึน หมายถึงพระพุทธรูปยืนสูง 1ชัคคุ 6ซึน (ประมาณ 4.8 เมตร) และพระพุทธรูปนั่งสูง 8 ชัคคุ (ประมาณ 2.4 เมตร)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โจกัง
การแสดงถึงการแกะสลักดวงตาในรูปปั้นไม้
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
อุรุชิฮักขุ
เป็นหนึ่งในเทคนิคการตกแต่งด้วยน้ำมันยาง เทคนิคการใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงินทีละแผ่นด้วยการลงน้ำมันยางบนพื้นผิวโลหะ เช่น ประติมากรรมไม้ เสา ผนัง และอุปกรณ์โลหะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โยเซกิ-สึคุริ
เทคนิคการแกะสลักไม้ซึ่งใช้ไม้หลายชิ้นมาประกอบกันเพื่อสร้างส่วนหัวและลำตัวของรูปปั้น วิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการเจาะส่วนภายในเพื่อลดน้ำหนัก ทำให้สามารถสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่โดยใช้ไม้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย เทคนิคนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น และได้รับการปรับปรุงตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794–1185)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
วัดโจฟูกุจิ
ในอดีตอยู่ในเมืองมินากูจิ เขตโคกะ จังหวัดชิงะ แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างไปแล้ว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โชะอินซึคุริ
จากสไตล์การสร้างแบบชินเดนซึคุริที่ถูกสร้างขึ้นในสังคมชนชั้นสูงในสมัยเฮอัน ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยตั้งแต่สมัยคะมะคุระได้รับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์ความเป็นอยู่ของนักรบซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในตอนนั้น และปรับเพื่อความจำเป็นในการรับแขกและทำพิธีการต่างๆด้วย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากสิ่งก่อสร้างสไตล์เซนที่เข้ามาจากประเทศจีนด้วย จึงค่อยๆกลายมาเป็นสไตล์การก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์พิเศษของบ้านพักที่ใหญ่หรูหราในสมัยสังคมนักรบ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ภาพวาดฝาผนัง
ภาพวาดที่วาดบนประตูบานเลื่อน ฉากกั้นห้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สำนักคะโน
ตระกูลจิตรกรที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีต้นตระกูลคือ คาโนะ มาซาโนบุ โดยสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยมุโรมาจิตอนปลายจนถึงสมัยเอโดะ และเป็นจิตรกรประจำของตระกูลซามูไร
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ชั้นวางของหลายระดับ
ของตกแต่งชิ้นหนึ่งที่ติดตั้งไว้ข้างๆ โทโกโนมะและโชอิน โดยมีชั้นวางของสองชั้นซ้อนกันแบบขยับสลับกัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โคเกะระบุคิ
ประเภทของการมุงหลังคา แผ่นไม้ยึดด้วยตะปูไม้ไผ่ และใช้แผ่นไม้ที่หนากว่าทำเป็นชายคา วัสดุที่ใช้ จะเป็นแผ่นไม้บางๆของไม้สน ไม้ฮิโนกิ หรือไม้ซาวาระ เป็นต้น
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
หลังคาแบบหน้าจั่ว
หลังคาแบบหน้าจั่ว(คิริซุมะ) และโดยทั่วไปจะรวมถึงอาคารที่มีหลังคาแบบนี้ด้วย โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า อิระคะ ซุคุริ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ปราสาทฟุชิมิ
ปราสาทที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิให้สร้างขึ้นบนเขาฮิกะชิฟุชิมิ ในเขตฟุชิมิ เมืองเกียวโต โดยเริ่มสร้างขึ้นในปีที่ 1 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1592) แต่ได้พังลงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปีค.ศ. 1596 และได้ถูกย้ายไปสร้างที่เขาโคะฮะตะโดยเป็นจุดตรวจผ่านทางเข้าเมืองเกียวโต หลังจากนั้นถูกยุบปราสาทลงโดยรัฐบาลปกครองเอะโดะ และมีการย้ายสิ่งก่อสร้างต่างๆไปยังวัดไดโทะคุจิ วัดนิชิฮองกังจิ ศาลเจ้าโตะโยะคุนิ เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยอะซุจิ-โมโมยามะ
ช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1568 ซึ่งเป็นปีที่โอดะ โนบุนางะ เข้าสู่เมืองหลวงพร้อมด้วยอาชิคางะ โยชิอากิ จนถึงปี ค.ศ. 1598 ซึ่งเป็นปีที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ สิ้นพระชนม์ หรือบางครั้งก็ถือว่าสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1603 เมื่อโทกุกาว่า อิเอยาสุ ขึ้นเป็นโชกุน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระชินเซอิโชนิน (ชินเซโชนิน)
ผู้ก่อตั้งนิกายเทนไดชินโช มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศอิเซะ (ปัจจุบันคือจังหวัดมิเอะ) ประสูติในปี ค.ศ. 1443(ปีคะคิซึที่3) และมรณกรรมในปี ค.ศ. 1495(ปีเมโอที่4) หลังจากศึกษาที่วัดฮิเอียวะ ต่อมาได้ไปจำพรรษาที่วัดโคคุรันจิ และได้ปฏิบัติธรรมเน้นการสวดมนต์ภาวนาที่วัดเซเกินจิ ณ เมืองซากาโมโตะ โดยศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางของพระศรีมงคล และได้ฟื้นฟูวัดไซเคียวจิขึ้นมาใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับการรักษาศีลและการปฏิบัติธรรม โดยได้รับพระราชทานสมญานามว่า "เอ็นไกโกคุชิ" และ "จิเซ็ทไดชิ""
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โทคุเซอิ อิคคิ
ในยุคกลาง กฎหมายที่กำหนดให้มีการนำที่ดินที่ขายไปคืนและการยกเลิกหนี้พันธบัตรถือเป็นโมฆะ เรียกว่า "โทคุเซอิ" เดิมที คำนี้หมายถึงความเมตตากรุณาหรือการปกครองที่ดี และผู้ปกครองได้รับอนุญาตให้ยกเลิกหนี้และนำที่ดินที่ขายไปคืนเพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ประสบปัญหา อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์โทกุเซอิอิคคิ คือการก่อกบฏของชาวนาที่ต้องการให้รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายที่อนุญาตให้ยกเลิกหนี้สินอย่างเป็นทางการ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
นิกายเทนได
นิกายทางพุทธศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากจีน โดยมีพระอาจารย์จื่ออี้แห่งนิกายเทียนไดเป็นต้นตระกูล มีพระสูตรโฮเค เป็นพระสูตรหลัก และมีพระอาจารย์ไซชู เป็นผู้ก่อตั้งนิกายในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัดหลักคือวัดเอ็นเรียคุจิ บนภูเขาฮิเอียซัง (เมืองโอสึ จังหวัดชิงะ)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เอชิน โซสึ
พระภิกษุแห่งนิกายเทนได ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 942(ปีเท็นเคอิ 5) ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1017 (ปีแรกของรัชสมัยคันนิน) เกิดที่ยามาโตะ เข้าสู่วัดฮิเอียวะตั้งแต่ยังเยาว์ และได้ศึกษากับอาจารย์เรียวเก็น อุปสมบทเมื่ออายุ 13 ปี ได้พำนักอยู่ที่โยคาวะ และในปี ค.ศ. 985(ปีแรกของรัชสมัยคันวะ) ได้ประพันธ์หนังสือ "โอวโจโยชู" 3 เล่ม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนานิกายสุขาวดี
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
กันซันไดชิ
เป็นพระสังฆราชองค์ที่ 18 แห่งนิกายเทนได ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 912(ปีเอนกิที่ 3) และสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 985(ปีแรกของรัชสมัยคันวะ) เนื่องจากท่านเสียชีวิตในวันที่สามของปีใหม่ จึงถูกเรียกกันทั่วไปว่า เก็นซัง ไดชิ ชื่อของเขาหลังเสียชีวิตคือ จิเกะ (โซโจ) หลังจากสิ้นพระชนม์ไม่นาน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ในการประสูติและการละสังขารของท่าน รวมถึงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ จึงทำให้เกิดความเชื่อและการเคารพบูชาในตัวท่าน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เจ้าชายโชโตกุ
พระองค์มีพระนามว่าอุมายาโดะ เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิโยเมอิ และพระนางอะนะโฮเบะ โนะ ฮาชิฮิโตะ ค.ศ. 574 (ปีบิดัตสึที่ 3) - ค.ศ. 622 (ปีซุยโกะที่ 30) เขาได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้กับจักรพรรดินีซุยโกะ และทรงทำงานด้านนโยบายภายในและต่างประเทศร่วมกับโซงะ โนะ อูมาโกะ ทรงเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งระบบยศ 12 ชั้น และร่างรัฐธรรมนูญ 17 ข้อ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และทรงสร้างวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดชิเทนโนจิและวัดโฮริวจิ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
รันมะ
ช่องเปิดแนวนอนที่อยู่ระหว่างเพดานกับคาน หรือระหว่างคานกับผนัง โดยปกติจะเปิดโล่งเพื่อให้แสงสว่างเข้ามาและระบายอากาศได้ดี และมักตกแต่งด้วยงานแกะสลักหรือช่องระบายอากาศแบบต่างๆ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
แท่นบูชา
แท่นบูชาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ภายใน (ส่วนใน)
ห้องด้านในสุดของวัด ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระประธาน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระอุโบสถด้านหลัง(อิไฮโด)
ด้านหลังของแท่นบูชาในพระอุโบสถ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประตูหลังหรือวิหารหลัง ในการเดินเวียนรอบพระพุทธรูป จะต้องเดินรอบบริเวณนี้ และเป็นจุดเข้าออกของพระอุโบสถ ที่ผนังด้านหลังแท่นบูชามีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระศากยมุนี (หรือพระศากยมุนีสามองค์) มากมาย แต่ในบางแห่งก็ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ซึ่งเรียกว่าพระประธานประจำวิหารหลัง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คะโตมะโดะ
เป็นสไตล์เซน จะมีให้เห็นอยู่มากที่ช่องลม(รันมะ)ของประตูซังคะระโตะ หรือในอาคารแบบโชะอินซึคุริ เป็นต้น โดยจะเรียกว่าฮะนะรันมะด้วยเพราะจะทำรูปทรงดอกไม้(ฮะนะ) ประกอบเข้าอยู่ในลายที่ละเอียดสวยงามที่เรียกว่าคุมิโคะด้วย งานทำคุมิโคะเหล่านี้จะเรียกว่า "ฮะนะคุมิโคะ" หรือ "ฮะนะโคะ"
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
คะเอะรุมะตะ
เป็นส่วนที่วางขั้นระหว่างไม้ 2 ท่อนที่ขนานกัน โดยจะมีลักษณะงอโค้งออกไปด้านนอกมีรูปทรงเหมือนกับง่ามขาของกบ และมีอีกอย่างที่สันนิษฐานกันก็คือมาจากปลายดอกธนูที่มีรูปทรงเป็น 2 ง่าม ที่เรียกว่าคะริมะตะ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
เพิงหลังคา
ส่วนที่ยื่นออกมาของหลังคาบริเวณหน้าบันไดของศาลเจ้าหรือวิหาร เพื่อให้พระสงฆ์และผู้ที่มาสักการะสามารถทำเคารพบูชาได้โดยตรง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
หน้าต่างชิโตมิโดะ
เป็นส่วนประกอบของอาคารที่ สามารถเลื่อนขึ้นหรือถอดออกได้ มีตะแกรงติดอยู่ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของแผ่นไม้ ส่วนใหญ่มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วน บนล่าง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ประตูซังคะระโตะ
ประตูที่ทำโครงอยู่ด้านในของกรอบประตู และมีแผ่นไม้บางหรือมีลายไม้ระแนงใส่ประกอบเข้าในโครงประตู
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ฮองกะวะระบุคิ
เป็นวิธีมุงหลังคาสลับกันไปมาด้วยกระเบื้องรูปทรงเว้า และทรงนูน ซึ่งเป็นวิธีมุงหลังคาที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่เริ่มสร้างวัดอะซุคะเดระซึ่งถือเป็นวัดที่มีการสร้างอย่างจริงจังวัดแรกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายศตรวรรษที่ 6
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
อิริโมะยะซึคุริ
ด้านบนตรงกลางของอาคารหลักเป็นหลังคาหน้าจั่ว และชายหลังคายื่นยาวออกไปอีกทั้ง 4 ด้าน โดยทั้งหมดเป็นหลังคาเดียวกัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระอุโบสถ
เป็นอาคารที่ตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของวัดโดยมีพระประธานประดิษฐานอยู่ โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละนิกาย เช่น คองโด, ชูโด, บุซึเดน, มิเอโด, อะมิดะโด เป็นต้น
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้